มนุษย์จะมองภาพทุกภาพด้วยความรู้สึกที่แตกต่างกัน ตามประสบการณ์การเรียนรู้ในอดีตของแต่ละบุคคล ทดสอบตัวเองจากการมองภาพ
คุณมองเห็นวัวมีทั้งหมดกี่ตัว
คุณมองภาพนี้แล้วเห็นอะไรบ้าง
มองภาพนี้แล้วให้ความรู้สึกอย่างไร
ภาพนี้เป็นไปตามจินตนาการที่ท่านคิดหรือไม่
ภาพที่ทุกคนรู้จักมีอะไรแอบแฝงอยู่
ท่านรับรู้กับภาพนี้อย่างไร
ฝากไว้ไห้คิดแต่อย่าสับสนในตัวเอง
เรือจ้างขวางลำ
ครู คือเรือจ้างที่สร้างสรรค์ศิษย์ ส่งถึงฝั่งก็กลับมารับใหม่ แต่บางครั้งเรือจ้างก็อ่อนล้า เพราะต้องพายโต้คลื่นที่ถาโถม จนบางครั้ง "เรือจ้างต้องขวางลำ"
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
จิตวิทยา
❤ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา

การขยายตัวทางจิตวิทยา
ปฏิบัติ การทดลองทางจิตวิทยาห้องแรก ถูกสร้างขึ้นโดย Wilhelm Wundt ในปี ค.ศ. 1879 ที่เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้น คือ กลุ่มโครงสร้างนิยม (Structuralism) การศึกษาจิตต้องศึกษาส่วนย่อย ๆ ที่ประกอบขึ้นมา ใช้วิธีการพื้นฐานทางจิตวิทยา คือ การสังเกตตนเอง หรือที่เรียกว่า การตรวจพินิจจิต (Introspection)
ในปี ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ ปรากฏออกมาให้เห็น
ในช่วงเวลาเดียวกัน ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory) โดยมีวิธีการศึกษา จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา ฟรอยด์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก
ใน ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จอห์น บี วัตสัน ได้ก่อตั้ง กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย
ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์(Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจใน ปัญหาของการรับรู้ การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ (Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามาก ขึ้นเรื่อยๆ
ในปี ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ ปรากฏออกมาให้เห็น
ในช่วงเวลาเดียวกัน ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory) โดยมีวิธีการศึกษา จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา ฟรอยด์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก
ใน ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จอห์น บี วัตสัน ได้ก่อตั้ง กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย
ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์(Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจใน ปัญหาของการรับรู้ การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ (Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามาก ขึ้นเรื่อยๆ
สาขาวิชาจิตวิทยา
1.จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์และการรักษาความผิดปกติของจิตวิทยา เช่น โรงพยาบาลจิตเวช คลีนิคให้คำปรึกษา ศูนย์สุขภาพ
2.จิตวิทยาการให้คำปรึกษา (Counseling Psychology) นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาให้บุคคลมีการปรับตัวต่อปัญหาทางอารมณ์ หรือปัญหาส่วนตัว ส่วนมากจะทำงานในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
3.จิตวิทยาโรงเรียนและจิตวิทยาการศึกษา (Educational and School Psychology) มีหน้าที่ในการวิเคราะห์และปรับปรุงการศึกษาอย่างมีแบบแผน
4.จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์โดยทดลองผ่านสัตว์โดยการทำวิจัยในห้องทดลอง
5.สรีระจิตวิทยา (Physiological Psychology) ได้ศึกษากระบวนการพื้นฐานเดียวกันกับนักจิตวิทยาการทดลองแต่นักสรีระวิทยาจะศึกษากระบวนการพื้นฐานว่าถูกควบคุมโดยระบบประสาทอย่างไร
6.จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Personality Psychology) สนใจความแตกต่างด้านพฤติกรรมที่มีปัจจัยจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมว่ามีอิทธิพลต่อลักษณะทางบุคลิกภาพของบุคคล
7.จิตวิทยาสังคม(Social Psychology) แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมไม่ได้เป็นเพียงผลลัพธ์ของบุคลิกภาพแต่มีปัจจัยแวด ล้อมอื่น โดยเฉพาะบุคคลแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคล
8.จิตวิทยาพัฒนาการ(Developmental Psychology) ให้ความสนใจในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบที่ปรากฏในบุคคลตลองช่วง ชีวิตของบุคคลโดยศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
9.จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology) ให้ความสำคัญกับลักษณะต่าง ๆของพฤติกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงาน
ประโยชน์ของจิตวิทยา
1. ทำให้บุคคลมีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมผู้อื่นได้
2. ช่วยทำนายพฤติกรรมของบุคคอื่น
3. นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
ชวนชม ความงามของกุหลาบทะเลทราย “ชวนชม” ชื่อนี้บอกอยู่ในตัวอยู่แล้วว่าเป็นพืชที่สวยงามจึงชวนกันชม แต่จริง ๆ แล้วไม่ต้อง ชวนหรอก ใคร ๆ เห็นก็ต้องชม เพราะมันสวยจริง ๆทั้งรูปทรง รูปร่างและดอกที่มีสีสันสวยสดงดงาม ด้วยความที่ชื่อชวนชม คนไทยสมัยก่อนจึงเชื่อกันว่า บ้านใดปลูกต้นชวนชมไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความชวนชม นิยมชมชื่น
ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บอกไว้ว่า ชวนชมเป็นพืชอายุหลายปี ทนแล้ง มีลักษณะเด่นที่เป็นไม้เนื้ออ่อนอวบน้ำ เก็บกักตุนอาหารไว้ที่ลำต้น โขด (คือ cordex-ส่วนต่อของลำต้นกับรากที่ขยายใหญ่ขึ้น) และราก แหล่งกำเนิดดั้งเดิมในธรรมชาติของพืชในสกุลชวนชมมีสองแหล่งใหญ่คือ แหล่งที่หนึ่ง พบตามแนวฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งมีหลากหลายชนิด ชนิดนี้นี่เองที่เป็นชนิดดั้งเดิมที่นำเข้ามาครั้งแรกในประเทศไทยในสมัยก่อน ประมาณ 70-80 ปีมาแล้ว จึงพบกันทั่วไปในประเทศไทย จนบางครั้งถูกเรียกเป็นพันธุ์ไทยหรือพันธุ์พื้นเมืองไปซึ่งที่จริงไม่ใช่ พวกนี้ ดอกสีชมพู ขอบกลีบสีเข้ม ออกดอกดกเกือบทั้งปี ต่อมาไม้ชนิดนี้ได้มีการปรับปรุงและคัดสายพันธุ์จนมีความหลากหลายมาก
ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บอกไว้ว่า ชวนชมเป็นพืชอายุหลายปี ทนแล้ง มีลักษณะเด่นที่เป็นไม้เนื้ออ่อนอวบน้ำ เก็บกักตุนอาหารไว้ที่ลำต้น โขด (คือ cordex-ส่วนต่อของลำต้นกับรากที่ขยายใหญ่ขึ้น) และราก แหล่งกำเนิดดั้งเดิมในธรรมชาติของพืชในสกุลชวนชมมีสองแหล่งใหญ่คือ แหล่งที่หนึ่ง พบตามแนวฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งมีหลากหลายชนิด ชนิดนี้นี่เองที่เป็นชนิดดั้งเดิมที่นำเข้ามาครั้งแรกในประเทศไทยในสมัยก่อน ประมาณ 70-80 ปีมาแล้ว จึงพบกันทั่วไปในประเทศไทย จนบางครั้งถูกเรียกเป็นพันธุ์ไทยหรือพันธุ์พื้นเมืองไปซึ่งที่จริงไม่ใช่ พวกนี้ ดอกสีชมพู ขอบกลีบสีเข้ม ออกดอกดกเกือบทั้งปี ต่อมาไม้ชนิดนี้ได้มีการปรับปรุงและคัดสายพันธุ์จนมีความหลากหลายมาก
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เรือจ้างขวางลำ
สวัสดีครับสำหรับบทความแรกของผมอาจจะออกเป็นแนวการวิเคราะห์ และชี้แจงชื่อของบล๊อก "เรือจ้างขวางลำ" ผมเองทั้งชีวิตอยู่ในวงการศึกษามาตลอด ทั้งบทบาทการเป็นนักเรียน บทบาทการเป็นครู และบทบาทการเป็นนักบริหารการศึกษา การศึกษาไทยมีวิวัฒนาการมาตลอดนับแต่ตั้งประเทศไทยมาก็ว่าได้ พ่อขุนรามคำแหงท่านทรงประดิษฐ์อักษรไทย ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาตลอด 700 กว่าปี อักษรไทยจึงมาเป็นรูปร่างหน้าตาปัจจุบัน แต่สิ่งที่เปลียนจริงๆคือวิวัฒนาการทางด้านการเรียนการสอน บทบาทของครูที่มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน ที่จะให้เกิดการเรียนรู้ กระแสของเทคโนโลยีที่เข้ามาในสังคมไทย จึงทำให้การศึกษาไทยต้องก้าวตามการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า "ปฏิรูปการศึกษา" สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กไทยจริงหรือ ครูเมื่อ 20 ปีที่แล้วล้าหลังจริงหรือ ผู้เขียนขอฝากไว้ให้คิด เพราะเรือจ้างที่เคยรับส่งเด็กไทยมาตลอดเริ่มไม่แน่ใจในสายน้ำ และลำคลอง ดังนั้น "เรือจ้างจึงขวางลำ"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)